top of page
  • Line
Search

Cryptocurrency - สกุลเงินดิจิตอล คืออะไร?


ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ปัจจัยสำคัญมักจะมาจากความต้องการสิ่งแปลกใหม่ ความต้องการในการดำเนินการต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกสบาย รวมถึงการสามารถได้รับผลประโยชน์สูงในการลงทุนนั่นเอง

อีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงที่วันนี้เราควรทำความรู้จักก็คือ สกุลเงินเสมือนจริง หรือ สกุลเงินดิจิตอล (Crypto Currency) ซึ่งทั่วโลกต่างให้ความสนใจ

Crypto Currency คืออะไร ?

Crypto Currency คือ สกุลเงินดิจิตอลที่เกี่ยวกับการเข้ารหัส มีความปลอดภัย และการป้องกันการปลอมแปลง ซึ่งมูลค่าของสกุลเงินดิจิตอลนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือแม้แต่ธนาคารกลาง แต่มูลค่าของสกุลเงินดิจิตอลขึ้นอยู่กับอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply)

สำหรับสกุลเงินดิจิตอล หรือสกุลเงินเสมือนจริง มีมากมายหลายสกุล ปัจจุบันมีสกุลเงินดิจิตอลทั่วโลกมากกว่า 700 สกุล แต่หนึ่งในสกุลเงินดิจิตอลที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่างกว้างขวางคือ "บิทคอยน์" (Bitcoin)

สกุลเงินดิจิตอล มีไว้ทำอะไร ?

วัตถุประสงค์หลักในการสร้างสกุลเงินดิจิตอล คือ การนำมาใช้มาเป็น "สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า" ที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต (online) ซึ่งสามารถนำสกุลเงินดิจิตอลมาใช้ในการซื้อขายสิ่งของต่าง ๆ ผ่านทางธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะทำหน้าที่เช่นเดียวกับ "เงิน" ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนในโลกแห่งความเป็นจริง

ทำไมคนทั่วโลกถึงหันมาใช้สกุลเงินดิจิตอลแทนสกุลเงินจริง ?

เนื่องจากสกุลเงินดิจิตอลเป็นสกุลเงินที่เป็น "อิสระ" ไม่มีหน่วยงานกลางใดเป็นผู้ควบคุมดูแล นอกจากนั้นสามารถนำสกุลเงินดิจิตอลแลกเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และมีค่าธรรมเนียมในการแลกเปลี่ยนหรือการทำธุรกรรมต่าง ๆ น้อยมา เมื่อเทียบกับสกุลเงินปกติ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสกุลเงินดิจิตอลจะเป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่ปัจจุบันยังไม่มีประเทศใดในโลกให้การยอมรับว่าสกุลเงินดิจิตอลที่มีในประเทศของตนเป็นสกุลเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายในประเทศของตนแต่อย่างใด

สกุลเงินดิจิตอล หรือ Bitcoin มีสถานะเป็นเงินตราตามกฎหมายหรือไม่ ?

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธปท. ได้ออกจดหมายชี้แจ้งฉบับที่ 8/2557 ระบุว่า “Bitcoin และหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ถือเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และไม่มีมูลค่าในตัวเอง มูลค่าของหน่วยข้อมูลดังกล่าวแปรผันไปตามความต้องการของกลุ่มคนที่ซื้อขาย หน่วยข้อมูล มูลค่าจึงเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าได้เมื่อไม่มีผู้ใดต้องการแล้ว

พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 มาตรา 6 ให้คำนิยามของคำว่าเงินตราไว้ว่า “เงินตรา ได้แก่เหรียญกษาปณ์และธนบัตร” โดยที่การจัดทำและนำออกใช้เหรียญกษาปณ์และธนบัตรอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้น เงินบิทคอยน์ตามนิยามในพระราชบัญญัติฉบับนี้ย่อมไม่ใช่เงินตรา เพราะ ไม่ใช่เหรียญกษาปณ์หรือธนบัตร และไม่ได้จัดทำโดยกระทรวงการคลังหรือธนาคารแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม คำว่า "สกุลเงินดิจิตอล" หรือสกุลเงินเสมือนจริง มีความแตกต่างกับ "เงินอิเล็กทรอนิกส์" ตรงที่ เงินอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นการใช้ "สกุลเงินของรัฐตามกฎหมาย" ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าในโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีผลเป็นการชำระหนี้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งมักจะอยู่ในรูปของ e-money ประเภทต่าง ๆ อาทิเช่น บัตรที่ใช้แทนเงินสดซึ่งลักษณะการใช้งานโดยการซื้อบัตรแทนเงินสด หรืออาจจะเป็นการเติมเงินสดเข้าไปในบัตร เพื่อนำไปใช้ซื้อขายสินค้าผ่านระบบของผู้ให้บริการรายนั้น ๆ เป็นต้น

ในประเทศไทย ปัจจุบันยังไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายเฉพาะใด ๆ ออกมากำกับดูแล หรือควบคุม สกุลเงินดิจิตอลที่ใช้กันอยู่ภายในประเทศ ซึ่งประเด็นในทางกฎหมายของประเทศไทย สามารถสรุปได้ดังนี้

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

@wcclawoffice


 
 
 

© 2016-2023 by W Corporate Consultants, Thailand.

bottom of page