สรุปกฎหมายแรงงานที่ควรรู้ (ตอนที่ 2/3 "ค่าชดเชย")
- Waraporn T.
- Oct 17, 2018
- 2 min read

ตอนที่ 2
"ค่าชดเชย"
"ค่าชดเชย" หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือไปจากเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง (พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5)
*เป็นเงินที่กม. กำหนดให้นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง แม้ว่าสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างจะไม่ได้กำหนดไว้ก็ตาม (หากลูกจ้างได้รับค่าชดเชยต่ำกว่าที่กม.กำหนด ข้อตกลงเช่นนั้นเป็นโมฆะ)
หลักเกณฑ์การจ่ายค่าชดเชย (พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118)
1. ต้องมีการเลิกจ้าง (เกษียณอายุตามที่ตกลงกัน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ถือว่าเป็นการเลิกจากเช่นกัน)
-นายจ้างเท่านั้นที่มีอำนาจเลิกจ้าง (กรรมการที่ไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจไม่มีอำนาจเลิกจ้าง)
-ลูกจ้างลาออกหรือเป็นฝ่ายไม่ต้องทำงาน รวมทั้งสัญญาจ้างสิ้นสุดลงตามความตกลงร่วมกันของนายจ้างและลูกจ้าง ไม่ใช่เลิกจ้าง (ลูกจ้างแสดงเจตนาเป็นหนังสือขอเลิกสัญญา ไม่ใช่เลิกจ้าง / นายจ้างเสนอให้ลูกจ้างลาออกโดยจะจ่ายค่าตอบแทนให้เท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน ไม่ใช่เลิกจ้าง ฎ.3780/2542 / นายจ้างแจ้งความ ลูกจ้างถูกจับและควบคุมตัว เมื่อได้ประกันแล้วไม่มาทำงาน ไม่ถือว่าเลิกจ้าง / นายจ้างขู่ว่าจะใช้สิทธิโดยชอบ ลูกจ้างลงชื่อในใบลาออก ไม่ใช่เลิกจ้าง / นายจ้างอนุมัติให้ลูกจ้างลาออกก่อนกำหนด ไม่ถือว่าเลิกจ้าง)
-เลิกจ้างเป็นเรื่องตัดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยเด็ดขาด (สั่งพักงาน ไม่ใช่เลิกจ้าง / ให้ออกชั่วคราวระหว่างสอบสวน ไม่ใช่เลิกจ้าง / ย้ายลูกจ้างตามความจำเป็น ไม่ใช่เลิกจ้าง / พักงานเพื่อสอบสวนความผิด ไม่ใช่เลิกจ้าง / สั่งพักงานเพื่อรอผลคดีอาญา ไม่ใช่เลิกจ้าง ฎ. 2921/2527 /
-โอนลูกจ้างไปทำงานเป็นลูกจ้างให้แก่บุคคลอื่น โดยลูกจ้างไม่ยินยอม ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง
-นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงาน และไม่จ่ายค่าจ้างที่จะถือเป็นการเลิกจ้าง ต้องพิจารณาพฤติการณ์ประกอบด้วย (ลูกจ้างหยุดงานโดยยื่นใบลาออกย้อนหลังอันเป็นการผิดระเบียบนายจ้าง นายจ้างจึงออกหนังสือเตอืนและให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบ ลูกจ้างไม่ยอมลงชื่อ ผู้จัดการโรงงานของนายจ้างพูดกับลูกจ้างว่า “ถ้าไม่เซ็น ผมปลดคุณออก” ลูกจ้างไม่ลงชื่อรับทราบหนังสือเตือนและกลับไปจากนั้นก็ไม่ไปทำงานอีกแต่อย่างใด พฤติการณ์ดังกล่าวยังไม่ถือว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ฎ.494/2525)
-ไม่ให้ลูกจ้างทำงานแต่ยังคงจ่ายค่าจ้าง หรือให้ทำงานแต่ไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่ถือเป็นเป็นการเลิกจ้าง
-การแสดงเจตนาเลิกจ้างด้วยวาจาก็ถือเป็นการเลิกจ้าง (หากเลิกจ้างเป็นหนังสือ ต้องระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้าง มิฉะนั้น จะยกเหตุไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 / ระบุเหตุผลในหนังสือเลิกจ้างแต่คลาดเคลื่อนในรายละเอียด ถือว่าใช้ได้ / แม้ไม่ระบุเหตุเลิกจ้างในหนังสือเลิกจ้าง ก็ยกขึ้นต่อสู้ในเรื่องสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้)
-ไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้าง อาจเกิดจากสัญญาสิ้นสุดหรือเพราะเหตุอื่น (ให้ออกจากงานเพราะป่วย เป็นการเลิกจ้าง / ให้ออกจากงานเพราะขาดคุณสมบัติ เป็นการเลิกจ้าง / ให้ออกจากงานเพราะไม่ผ่านทดลองงาน เป็นการเลิกจ้าง
-ไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้าง ไม่จำต้องรอให้ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเสียก่อน หากมีพฤติการณ์ที่แสดงออกชัดเจนว่าไม่จ่ายค่าจ้าง ก็ถือเป็นการเลิกจ้างได้
-ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง เพราะนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือเป็นการเลิกจ้าง
-ลูกจ้างเกษียณอายุตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงักน หรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ ถือเป็นการเลิกจ้าง
-เหตุที่เลิกจ้างต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะเลิกจ้าง
2. ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไป (นับระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดสัญญาจ้าง)
3. ข้อยกเว้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
1. กรณีเป็นงานพิเศษ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรค 3 และ 4 (จ้างแบบมีกำหนดระยะเวลาแน่นอน)
2. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ (รายงานเท็จเพื่อได้ค่าแรง ถือว่าทุจริตต่อหน้าที่ / ลูกจ้างเรียกค่าอำนวยความสะดวกจากผู้ขายสินค้าให้นายจ้าง ถือว่าทุจริต ฎ.5591/2549 / ลูกจ้างฝ่ายจัดซื้อขอสุราจากลูกค้า ถือว่าทุจริต)
3. ลูกจ้างทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง (รู้เห็นการยักยอกทรัพย์-ลักทรัพย์ นายจ้าง ถือว่าผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง / กล่าวถ้อยคำดูหมิ่นนายจ้าง ถือว่าผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง / ฉีกใบลาออกที่ยื่นต่อนายจ้างแล้ว ถือว่าผิดข้อหาทำให้เสียทรัพย์ต่อนายจ้าง / หมิ่นประมาทนายจ้าง ถือว่าผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง / พูดจาไม่สุภาพและก้าวร้าว ไม่เป็นความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า)
4. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (หัวหน้าไม่ให้ลูกน้องทำงาน ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / เป็นพนักงานขาย ไม่ส่งเงินค่าสินค้าแต่เก็บไว้เป็นเวลานาน ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / หัวหน้าพนักงานขายให้ลูกน้องชะลอการขาย ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / นัดหยุดงานโดยไม่ชอบ ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ประกอบธุรกิจแข่งขันกับนายจ้าง ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / หัวหน้าฝ่ายซ่อมบำรุงได้รับรายงานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดัง แต่ไม่ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย / ไม่ตั้งใจปฏิบัติงาน มีความประพฤติกระด้างกระเดื่อง ไม่ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย / ทำงานผิดพลาดเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นปกติ ไม่ถือว่าจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย)
5. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (ประมาทเลินเล่อ = การกระทำไปโดยไม่ม่เจตนา แต่ไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ทั้งที่ในภาวะ วิสัย และพฤติการณ์เช่นนั้นสามารถใช้ความระมัดระวังได้ แต่ก็ไม่ใช้ให้เพียงพอ) การกระทำดังกล่าวนายจ้างต้องได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงด้วย หากไม่ปรากฎว่านายจ้างเสียหาย หรือเสียหายเพียงเล็กน้อย หากเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
6. ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกรณีร้ายแรง (ต้องเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้างที่ชอบด้วยกม. และเป็นธรรมของนายจ้าง + การฝ่าฝืนนั้นต้องเป็นกรณีร้ายแรงด้วย)
-ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับฯ ที่มีลักษณะเป็นปรปักษ์ต่อการเป็นนายจ้างลูกจ้าง ถือว่าร้ายแรง (ลูกจ้างมีผลประโยชน์ส่วนตัวในการดำเนินธุรกิจของนายจ้าง ถือว่าร้ายแรง / ทำธุรกิจแข่งกับนายจ้าง ถือว่าร้ายแรง / ดูหมิ่นสบประมาทนายจ้าง ถือว่าร้ายแรง)
-ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานอันเป็นความผิดและมีโทษทางอาญาที่ค่อนข้างร้ายแรง ถือว่าร้ายแรง (ทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ ถือว่าร้ายแรง / ปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ถือว่าร้ายแรง)
-ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับระเบียบหรือคำสั่งสำคัญ ถือว่าร้ายแรง (ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับทำให้นายจ้างเสียหายมาก ถือว่าร้ายแรง เช่น พนักงานจัดซื้อไม่สอบราคาเปรียบเทียบ และไม่ปฏิบัติตามวิธีการจัดซื้อที่กำหนดไว้ในคู่มือปฏิบัติงานของนายจ้างว่าด้วยวิธีการจัดซื้อทั่วไป แม้การกระทำไม่ปรากฎว่ามุ่งหมายทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย แต่ถือว่าฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ทำให้นายจ้างต้องซื้อของในราคาสินค้าที่สูงกว่าท้องตลาด และนายจ้างได้รับความเสียหาย ถือว่าร้ายแรง / รับเงินจากลูกค้าแล้วนำเงินบางส่วนไปใช้ส่วนตัว ถือว่าร้ายแรง)
-ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ มีผลทำให้นายจ้างเสียหายจำนวนมาก ถือว่าร้ายแรง
ตัวอย่างอื่น ๆ รายงานเท็จ ทำให้นายจ้างเสียหายปลายประการ ถือว่าร้ายแรง / ฉีกใบเตือน ถือว่ารายแรง ฎ.2171/2542 / พูดก้าวร้าวและละทิ้งหน้าที่ ทำให้นายจ้างเสียหาย ถือว่าร้ายแรง / ละทิ้งหน้าที่บ่อยครั้ง แสดงกิริยาก้าวร้าวเมื่อผู้บังคับบัญชาทักท้าง ทำให้มีงานคั่งค้างมาก ถือว่าร้ายแรง)
7. ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งกรณีไม่ร้ายแรง และนายจ้างได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว ลูกจ้างยังคงทำความผิดซ้ำคำเตือนภายใน 1 ปี นับแต่กระทำผิดครั้งที่ถูกเตือน นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
“คำเตือน” ที่ชอบด้วยกม. จะต้องประกอบด้วย
(1) ลูกจ้างฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับการทำงานหรือคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างกรณีไม่ร้ายแรง (กรณีไม่ร้ายแรง - มาทำงานสาย / ไม่สนใจการประชุม เข้าประชุมสาย ละทิ้งหน้าที่กลับก่อนเวลา ไม่ออกเยี่ยมลูกค้าทำให้ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้าหมายตามที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นเพียงลูกจ้างไม่ต้องใจปฏิบัติงาน ไม่อุทิศเวลาให้แก่งาน และไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน / ทำงานผิดพลาดซึ่งเป็นข้อผิดพลาดตามปกติที่อาจเกิดขึ้นได้จากการทำงาน)
(2) นายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือ
(3) หนังสือเตือนต้องออกโดยผู้มีอำนาจ
(4) หนังสือเตือนต้องมีข้อความระบุถึงการกระทำผิดและห้ามกระทำผิดซ้ำอีก ******ต้องมีให้ครบทุกประเด็น******(ต้องมีการระบุข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิด+วันเวลาและลักษณะของการกระทำผิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง+การกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบข้อบังคับฯ ของนายจ้างในเรื่องใด+ต้องมีข้อความระบุห้ามไม่ให้ลูกจ้างทำผิดอีก+หากฝ่าฝืนจะต้องถูกลงโทษสถานหนัก หรือเลิกจ้าง)
(5) นายจ้างต้องแจ้งหนังสือเตือนให้ลูกจ้างทราบ (ไม่จำต้องให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบในหนังสือเตือนเสมอไป / ไม่ลงชื่อรับทราบฯ ไม่ถือว่าขัดคำสั่ง)
(6) ลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนภายใน 1 ปี นับแต่วันกระทำผิดครั้งแรก ไม่ใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างทราบหนังสือ (ลูกจ้างไม่มาทำงานและมิได้ยื่นใบลาป่วยโดยไม่มีเหตุจำเป็น นายจ้างเคยตักเตือนเป็นหนังสือครบถ้วนแล้ว ลูกจ้างขาดงานอีก 7 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร โดยไม่ยื่นใบลากิจหรือลาป่วยเช่นเดียวกัน การกระทำผิดจึุงเป็นการทำซ้ำคำเตือน นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ฎ.2364/2533)
8. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร (ไม่มาทำงานในวันทำงาน ถือว่าละทิ้งหน้าที่ / ลาป่วยเท็จและนายจ้างไม่อนุมัติ ถือว่าละทิ้งหน้าที่ / ลาผิดระเบียบนายจ้างไม่อนุมัติ แต่ลูกจ้างหยุดงาน ถือว่าละทิ้งหน้าที่ / ลงชื่อเข้าทำงานแต่ไม่ปฏิบัติงานหรือหลบหนีไปภายนอก ถือว่าละทิ้งหน้าที่ / ลูกจ้างนัดหยุดงานโดยไม่ชอบ ถือว่าละทิ้งหน้าที่ / สั่งย้ายลูกจ้างโดยชอบ แต่ลูกจ้างไม่ยอมย้าย ถือว่าละทิ้งหน้าที่)
9. ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

@wcclawoffice